บริการตรวจสอบสภาพรถยนมือสองก่อนตัดสินใจซื้อ By. อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ
โดย อาจณรงค์ ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 4 ม.ค. 2554.
รับดูรถมือสอง By. อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ
**ตรวจสอบประวัติรถ รถอายัด รถโจรกรรม รถตัดต่อดัดแปลงตัวถัง-เครื่องยนต์**
การเลือกรถมือสองในมุมมองของผม โดย อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ
085-325-2353 โทรย้ำๆ นิดนึงนะครับ บางครั้งหลายสายเข้ามาพร้อมกัน
บริกการตรวจสอบสภาพรถยนต์มือสอง ด้วยประสบการณ์ด้านงานซ่อมเครื่องยนต์ โมดิฟายเครื่องยนต์, ซ่อมตัวถังแคะปะผุรถยนต์, SET Up ซ่อมแซมช่วงล่าง, ตรวจสอบวิเคราะห์ระบบไฟฟ้าทั้งหมด ชนหนัก-เบา ผมบอกหมด หากใครต้องการ วิเคราะห์ตรวจสอบด้วยตนเองเบื้องต้นก่อน ก็ดูคลิปวีดีโอสื่อการสอนของผมก่อน และมีบทความอีกให้ศึกษากันก่อน บางทีคุณอาจไม่ต้องเรียกผมไปดูก็ได้ 555++ ช่วยเหลือกันๆ
วีดีโอสื่อการสอน จัดทำขึ้นเพื่อสอนการดูรถมือสองเบื้องต้น บันทึกการถ่ายทำ ปี 2010 (ใคร Copy ไปตัดต่อ ก็ให้เครดิตผมหน่อยนะครับ
บทความการดูรถมือสอง เริ่มเขียนปี 2006 ปรับปรุง 2007-2010 (ใคร Copy ก็ให้เครดิตด้วยนะครับ จะได้มีบทความและวีดีโอดีๆ อย่างนี้ดูกันต่อไปเรื่อยๆ นะครับ)
หากต้องการดูเบื้องต้น มีทั้งหมด 4 Part นะครับ
http://www.youtube.com/watch?v=yQr4TZkRpSk
http://www.youtube.com/watch?v=OmyfMFX4S10&feature=mfu_in_order&list=UL
http://www.youtube.com/watch?v=mkRKFRD-SVk&feature=mfu_in_order&list=UL
http://www.youtube.com/watch?v=1F7AjzK9geU
ขอเรียนทุกท่านไว้ก่อนนะครับว่าทั้งหมดนี้เป็นเพียงประสบการณ์ของผมเท่านั้นผมอาจจะตั้งกฎเกณท์ไว้ค่อนข้างสูงและคิดเสมอว่ารถไม่ได้มีคันเดียวต้องหาที่ดีที่สุดถ้าสงสัยคือหยุดทันทีไปหาใหม่เพราะเป็นความหวังและความเชื่อมั่นของผู้ซื้อที่มีต่อผมและผมจะดูตามความคิดของผม และให้ผู้ซื้อเป็นคนคุยกับคนขายและผมจะไม่พูดหรือตอบคำถามใดๆทั้งสิ้นให้ดูเหมือนพวกรับจ้างดูรถทั่วๆไปและผมจะให้ผู้ซื้อเลือกไว้ 2 หรือ 3คันซึ่งผมจะไล่ดูตามลำดับ เมื่อก่อนผมเคยรับดูรถมือสองโดยไม่คิดค่าตอบแทน(ตามแต่จะให้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นข้างหนึ่งมื้อ)แต่ก็จำไม่ได้ว่าดูไปทั้งหมดกี่คัน อันนี้ของฟรีใครๆก็ชอบตอนหลังอยากทำเป็นอาชีพเหมือนกันแต่เนื่องจากฟรีมาตั้งแต่ต้นก็เลยลำบากใจสุดท้ายก็ดูให้เฉพาะที่ขับมาให้ดูที่บ้านเท่านั้น (((อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ))) ----กันcopy
- เมื่อผมเดินทางไปถึงสถานที่ ที่รถคันที่เขาจะให้ดูให้จอดอยู่ผมก็จะเริ่มดูจากสภาพภายนอกก่อนโดยเคาะตัวถังรอบๆรถว่าเป็นเสียงของเหล็ก(เสียงแก๊งๆใสๆ)หรือว่าเป็นเสียงทึบๆ(ปุ๊คๆ)ของสีโป๊วถ้าเป็นจุดที่ไม่สำคัญและบริเวณไม่กว้างเช่นแก้ม ด้านข้าง ด้านท้ายหรือประตูก็ถือว่ายังยอมรับได้(อันนี้เป็นเรื่องปกติการที่จะไม่เฉี่ยวไม่ชนเลยเป็นไปได้ยากมาก)แต่ถ้าเจอด้านข้างหรือด้านหน้าเป็นหรือด้านท้ายหรือหลังคาที่เป็นบริเวณกว้างผมก็จะไม่สนใจรถคันนั้นทันที
- ถ้ายอมรับได้ก็จะมาดูเรื่องสีรถว่ามีสภาพเรียบร้อยแค่ไหน ชนิดของสีที่ใช้ที่ใช้ต่างกันหรือไม่(สีธรรมดา-ลูไซด์-สีเกร็ด)มีตรงไหนที่พื้นสีเข้ม-ซีดแตกต่างกันโดยจะเน้นไปที่สีของฝากระโปรงเทียบกับแก้มทั้งสองข้างถ้าสีไม่เหมือนกันแสดงว่ามีการทำสีมา(อาจจะจากการชนหรือไม่ก็ได้)จากนั้นจะนำทั้งหมดไปเทียบกับหลังคาและฝาท้ายแต่จะเน้นที่หลังคาเพราะ ถ้าหลังคาถูกทำสีที่เกิดจากการชนคือการชนที่รุนแรงมากหรือคว่ำมาไม่น่าคบแน่ๆอันนี้จะดูที่ขอบยางของกระจกหน้าและกระจกหลังถ้าทำสีมาสีจะแตกตรงมุมขอบให้เห็น ดูความสม่ำเสมอของขอบประตูด้านบน-ล่างว่ามีเอียงหรือบิดหรือต่ำๆสูงๆหรือไม่ทั้งสี่บานถ้าพบตรงจุดนี้ก็จะหยุดเช่นกันยิ่งถ้าเจอประเภทสาดสีมาทั้งคันผมจะไม่สนใจรถคันนั้นเลย
- ถ้าผ่านจุดนี้ผมก็จะเปิดดูที่ห้องโดยสารผมจะเปิดพื้นให้ถึงพรมชั้นล่างสุดโดยเฉพาะตรงที่พักเท้าด้าหน้าทั้งสองข้าง(ข้างหลังไม่เน้นมาก)และจะดมดูจะต้องไม่มีกลิ่นอับของความชื้นเหมือนซักผ้าตากไว้ในร่มเพราถ้ามีเป็นไปได้ว่าระบบแอร์รั่ว-มีการผุของเหล็กที่ผนังกั้นห้องโดยสารกับห้องเครื่อง-มีการรื้อหรือยกเครื่องออกจากตัวรถแล้วประกอบไม่ดีจนมีน้ำรั่วเข้ามาได้(อาจจะซ่อมหรือชนมา)เชื่อไหมบางคันเจอน้ำใต้พรมเลยก็มี ถ้าเจอก็หยุดเช่นกันอันนี้ไม่มีข้อแม้
- ถ้าผ่านก็จะดูขอบกระจกหน้า(ดูจากข้างใน)อาจจะต้องถอดขอบออกถ้าเป็นกระจกจากโรงงานจะต้องไม่มีเศษซิลิโคนให้เห็นและขอบทุกด้านต้องแนบสนิท(ถ้าเป็นรถรุ่นใหม่ๆจะดูที่ยี่ห้อทุกบานต้องยี่ห้อเดียวกัน)ถ้ามีเศษซิลิโคนหรือกระจกแนบข้างแต่อีกข้างโด่งอันนี้ก็แสดงว่าเคยเปลี่ยนกระจกหน้ามา(ไม่ว่าด้วยเหตูใดก็ตาม)ผมก็จะหยุดเช่นกัน
- ถ้าผ่านก็ดูต่อคราวนี้ก็บิดสวิทช์กุญแจดูสัญญานเตือนต่างๆต้องติดครบแล้วก็สตาร์ทเครื่องดูสัญญานเตือนทุกตัวต้องทำงานตามปกติถ้าไม่ก็ดูอีกทีว่ารับได้หรือเปล่า(เช่นรูปแบตเตอรี่อาจเป็นไปได้ถ้ารถจอดนานจนแบตหมดก็จะเก็บความสงสัยไว้ก่อน)จากนั้นก็จะเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีในรถทั้งหมดตัวไหนทำงานไม่ทำงานก็จำไว้และจะค้างไฟหน้าไว้ที่ไฟสูงเปิดแอร์แรงสุด แล้วค่อยเปิดกระโปรงหน้า (((อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ))) ----กันcopy
- มาดูที่ห้องเครื่องในส่วนนี้ค่อนข้างเน้นมากถ้าเจอตรงไหนจะหยุดทันทีอันแรกก็เปิดฝาหม้อน้ำทิ้งไว้(บางรุ่นไม่มีก็เปิดที่พักน้ำแทน)จากนั้นก็เริ่มฟังเสียงและใช้มือกับที่ตัวเครื่องดูการสั่นเสทือนที่จะบอกถึงความเรียบของเคื่องยนต์ในรอบเดินเบาต้องไม่มีการกระตุก การสั่นต้องต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ(ไม่ใช่สั่นบ้างหยุดบ้าง) ฟังเสียงสายพาน-ลูกรอก-พัดลมต้องไม่ส่งเสียงเจี้ยวจ้าวเกินพอดี ดูขอบห้องเครื่องด้านหน้า-ซ้าย-ขวาต้องมีร่องรอยของจุดสป็อตของการอาร์คไฟฟ้าที่ใช้ในการประกอบ(เป็นหลุมที่มีระยะห่างเท่าๆกันถ้ามีการชนสีโป๊วจะอุดรอยพวกนี้เป็นเรียบหมด) (((อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ))) ----กันcopy
- จากนั้นก็จะดูชุดโคมไฟหน้าว่าเรียบเสมอกับกับไฟเลี้ยวหรือเปล่ามีการปรับเอียงไว้หรือไม่ถ้าเอียงก็ปรับให้ตรงและเสมอเป็นปกติซะแล้วเดินไปด้านหน้าห่างจากรถประมาณ 10-15เมตรแล้วหันมาดูไฟหน้ารถ(ที่ผมเปิดทิ้งไว้ที่ไฟสูง)สังเกตุไฟทั้งสองข้างจะต้องมีความสูงที่ใกล้เคียงกันถ้าสูงข้างต่ำข้าง(อันนี้ก็เหมือนตอนกลางคืนที่บางครั้งเราขับสวนคันอื่นไฟข้างนึงสูงอีกข้างนึงต่ำ)แต่ผมได้ปรับโคมให้เสมอกันแล้วอันนี้ร้อยทั้งร้อยบอกได้เลยชนด้านหน้าหรือเฉียงๆข้างใดข้างหนึ่งมาหลีกให้ห่าง (((อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ))) ----กันcopy
- ถ้าผ่านก็กลับมาที่รถดึงสายคันเร่งๆเครื่องดูว่าเร่งดีหรือไม่ต้องไม่มีสดุดหรือสำรักน้ำมันและเสียงแขกของวาล์ว(แก๊กๆ)ต้องไม่ดังจนน่าเกลียด ตอนนี้เครื่องร้อนแล้วก็จะมาดูน้ำหม้อน้ำหรือหม้อพัก(ที่เปิดฝาทิ้งไว้แต่ทีแรก)การไหลวนต้องไม่มีฟองอากาศ(ยิ่งเร่งเครื่องฟองยิ่งใหญ่ขึ้น)ถ้ามีแสดงว่าเครื่องเคยโอเวอร์ฮีตมาจนฝาสูบโก่งไม่ควรคบ ถ้าผ่านก็จะก้มดูด้านล่างว่ามีน้ำแอร์หยดอย่างสม่ำเสมอดี(ถ้าไม่มีหยดเลยก็ไม่เอา)และต้องไม่มีอย่างอื่นหยดนอกจากน้ำแอร์จากนั้นก็ไปปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปิดไว้แล้วดับเครื่องที่สำคัญคือระหว่างที่เช็คอยู่ถ้าคนขายไปดับเครื่องผมก็จะไม่ดูต่อเช่นกัน(แสดงว่าต้องการปกปิดบางอย่าง)แล้วก็มาดูรอยรั่วของน้ำตามท่อน้ำหรือน้ำมันในระบบว่ามีใหม่ๆออกมาตรงไหนบ้าง(อันนี้พอรับได้บ้างแต่เก็บข้อมูลไว้)ดูตามจุดประกบต่างๆเช่นฝาครอบวาล์ว-เครื่อง-หัวเกียร์ว่ามีร่องรอยของสารซีลป้องกันรั่วหรืไม่(สีส้มหรือสีขาว)ถ้ามีก็แสดงว่าจุดนั้นๆมีการถอดซ่อมมาแล้ว(เก็บเป็นข้อมูลไว้)รอซักพักแล้วก็มุดดูพวกลูกยางกันฝุ่น-กันโคลง-ยางหุ้มเร็คพวงมาลัยว่ามีจุดไหนชำรุดเสียหายหรือจาระบีรั่วหมดบ้าง(พอรับได้ก็เก็บข้อมูลไว้)จากนั้นก็ปิดฝาหม้อน้ำหรือหม้อพักเช็คระดับของเหลวทุกอย่างเช็คการยุบตัวของโช้คต้องไม่แข็งหรือนิ่มเกินไปและต้องไม่มีเสียงกระทบกันของเหล็ก(เก็บข้อมูลไว้) จากนั้นก็ทดลองขับ(ถ้าไม่ให้ลองขับก็หยุดเช่นกัน)ดูความสม่ำเสมอของอัตราเร่งต้องไม่กระตุก รอบเครื่องกับความเร็วต้องสัมพันธ์กันไม่ใช่รอบสูงแล้วแต่รถไม่วิ่งก็ใช้ไม่ได้ พยามหาถนนที่โล่งอัดและลากเกียร์ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ที่ดีที่สุดคือต้องไม่มีการสดุดของเครื่องเลยและการสับเปลี่ยนเกียร์(ธรรมดา)จะต้องลื่นเข้าง่ายไม่มีเสียงโครกครากให้ได้ยินอันหมายถึงความเสื่อมสภาพของครัทช์หรือครัทช์ที่เคยไหม้มาก่อน จากนั้นก็รักษาความเร็วไว้ที่100-120แล้วเบรคแรงๆที่ดีต้องไม่มีเสียงเอี๊ยดอ๊าด-อาการปัด-พวงมาลัยสั่น-รถสั่นทั้งคันต้องไม่มีให้เห็นถ้าเล็กน้อยก็ไม่เป็นไรพอรับได้(เก็บข้อมูลไว้) ถ้าเป็นเกียร์ออโต้ก็จะเบรคจนรถหยุดเลยเครื่องต้องไม่ดับด้วยจากนั้นผมก็จะเลี้ยวเข้าปั๊มน้ำมันหาที่โล่งหมุนพวงมาลัยซ้าย-ขวาสุด(ทีละด้าน)แล้วเร่งเครื่องออกตัวแรงๆต้องไม่มีเสียงก๊อกๆแก๊กๆของเพลาหรือลูกหมาก(ถ้ามีก็เก็บข้อมูลไว้) (((อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ))) ----กันcopy
ตลอกเวลาที่ลองขับที่หน้าปัดต้องไม่มีสัญญานอะไรกระพริบขึ้นมาและเกร์ความร้อนต้องนิ่งประมาณกลางๆ(หรือที่ใดที่หนึ่ง)โดยไม่เลื่อนขึ้นลงจึงจะถือว่าเยี่ยม เมื่อออกจากปั๊มมาก็จะมองหาหมู่บ้านจัดสรรเจอปุ๊บก็เลี้ยวเข้าไปเลยหาช่องที่มีเนินปูนต์กันรถวิ่งเร็วหรือแมงกะไซค์แล้วจะอัดประมาณ60ลุยทดสอบช่วงล่างซัก2-3จุดเพื่อทดสอบช่วงล่างจะต้องไม่มีเสียงดังของเหล็กกระทบกันให้ได้ยินแต่ถ้าเป็นเสียงทึบๆของโช้คหรือสปริงก็ปกติ ในระหว่างการทดลองขับ(ผมจะไปกับผู้ขายเท่านั้นให้ผู้ซื้อคอยที่เต็นท์หรือที่บ้านของผู้ขาย)ถ้ามีการเสนอเงินให้ผมเพื่อให้เชียร์รถของเขาจนขายได้(เพราะเขาคิดว่าผมเป็นพวกรับจ้างดูรถทั่วๆไป)ผมก็จะเลิกสนใจรถคันนั้นทันทีเช่นกัน(เคยมีเสนอให้ต่ำสุด5พันและสูงสุด2หมื่น) จากนั้นก็เอารถไปคืนแล้วลงจากรถมาดูสภาพของยางว่าจะยังสามารถใช้งานต่อไปได้มากน้อยเพียงใด(เพื่อเป็นข้อมูล)ถ้ายางมีกลิ่นเหม็นไหม้หนือสึกแบบดำอย่างเห็นได้ชัดและกดดูที่ดอกแข็งๆ(ทั้งที่ยังร้อนอยู่)แสดงว่าหมดสภาพเพราะถึงแม้จะไปเซาะร่องยางมาการวิ่งดังกล่าวจะแสดงผลทันที จากนั้นก็กลับออกไปดูคันที่สองและที่สามตามลำดับ(บอกว่าขอเวลาคิดก่อนอย่าหลงกลวางเงินมัดจำโดยเด็ดขาดขายได้ก็ให้เขาขายไป)เมื่อครบแล้วก็กลับบ้าน(อันนี้ผมกลับจริงๆนะครับ)แล้วก็มาสรุปให้ผู้ซื้อฟังว่าแต่ละคันเป็นอย่างไร ซื้อมาต้องซ่อมอะไร ใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่คันไหนน่าสนใจที่สุดตามลำดับหนึ่งสองสามแล้วให้ผู้ซื้อไปตัดสินใจและไปต่อรองราคากันเอาเองผมไม่เกี่ยว(แต่ทุกคันที่ผมไปดูให้ผมรับประกันซ่อมให้ด้วยตลอดอายุการใช้งานและผมจะให้เครดิตกับเต็นท์ที่มีการรับประกันหลังการขายเป็นลายลักษณ์อักษรสูงกว่าเต็นท์ทั่วๆไป) และขอย้ำว่าการดูรถบ้านสำหรับผมจะใช้วิธีการโทรถามสถานที่หรือเลขที่บ้านก่อนแต่จะนัดดูรถในอีก5-7วันหรืออาจจะยังไม่นัดเลยจากนั้นผมจะไปหาบ้านหรือสถานที่ดังกล่าวจนเจอแล้วจะซุ่มดูอยู่1-2วันต้องขับตามดูการใช้งานและสภาพที่พอดูได้จากระยะไกลด้วยผมจะเลือกเฉพาะรถที่มีการใช้งานอยู่เท่านั้น ถ้าเจอแบบคลุมผ้าหรือจอดทิ้งไว้ก็ไม่เอาครับหรือบางทีขับตามไปเจอเลี้ยวเข้าอู่อันนี้ก็ไม่เอา หาบ้านไม่เจอก็ไม่เอา นัดนอกสถานที่ก็ไม่เอา ยิ่งเป็นเบอร์บ้านยิ่งเช็คง่ายถาม 13(เดี๋ยวนี้เป็น 1133 แล้ว)ถามหาชื่อเจ้าของบ้านของเบอร์นั้นๆว่าตรงกับเจ้าของรถหรือไม่บางทีก็ไม่ตรงกันก็ไม่เอา(อาจจะมีเต็นท์มาเช่าหน้าบ้านขาย) ดังนั้นการดูรถบ้านสำหรับผมแล้วจะยากกว่าการดูรถเต็นท์ครับเพราะดูได้แค่อาทิตย์ละไม่เกิน 2 คันทั้งหมดที่เล่ามาเป็นเพียงคร่าวๆ(แค่นี้ก็ยาวมากแล้ว)ยังมีรายละเอียดปรีกย่อยอีกมากพอดูเหมือนกันครับแต่ไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ขอย้ำอีกครั้งว่ามันเป็นกฏที่ผมสร้างขึ้นมาเองอาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้ครับไม่จำเป็นต้องเชื่อครับเพราะ ปล.เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวครับ
การเลือกรถมือสองในมุมมองของผม(ตอน2)
ขอใช้ชื่อตอนนี้ว่า...?ป้องกันตัวยังไงไม่ให้โดนหลอก?.....
ที่มา
เรื่องนี้โดยส่วนตัวแล้วเป็นเรื่องที่ดีและดีกว่าตอนแรกเสียอีก แต่มันออกจะหมิ่นเหม่มากไปหน่อย แม้ผมจะเคยทำลักษณะนี้มาก่อนตั้งแต่การเริ่มต้นหรือดูรถยังไม่เป็นเท่าไหร่แต่กาลเวลาก็ทำให้ผมลืมเรื่องนี้ไปเพราะตรงนี้มันเป็นเทคนิคเฉพาะตัวในการเลือกซื้อรถมือสองจริงๆที่ลดโอกาสเสี่ยงได้มากที่สุด และไม่เกี่ยวข้องกับใครหรือกลุ่มผู้ประกอบการณ์ใดๆทั้งสิ้น
ความจริงแล้วผมพยามสื่อในเรื่องการซื้อรถมือสองไปแล้วทั้งจากบทความหลายๆเรื่องไม่ว่าจะเป็น...
?การเลือกรถมือสองในมุมมองของผม?
?ผมก็อยากมีรถ(มือสอง)ซักคัน?
?อาชีพรับจ้างดูรถมือสองไว้ใจได้แค่ไหน?
แต่ก็ยังมีสมาชิกในชมรมคนรักรถบางท่านที่ประสพปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ(บางราย)ที่ขาดคุณธรรมและไร้จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ แม้บทความที่เคยพูดเรื่องการป้องกันจากหลายๆแง่ที่เคยยกมาในบทความที่แล้วๆมาแต่มันก็อาจจะยังไม่เพียงพอสำหรับการป้องกันตัวเอง บางท่านอาจจะมองว่าสิ่งที่ผมเขียนให้อ่านกันนั้นใช้เวลามากเกินไปหรืออาจจะหารถใหม่ได้เลย ซึ่งท่านเหล่านั้นอาจจะไม่เคยเจอปัญหามาก่อนก็เลยยังไม่เคยเข้าใจความรู้สึกของการถูกเอาเปรียบแบบซึ่งหน้าแถมไม่ผิดกฎหมายด้วยว่ามันเป็นยังไง แต่ถ้าท่านเจอเหตุการณ์ด้วยตนแม้แค่ครั้งหนึ่งครั้งเดียว ท่านอาจจะเข้าใจเรื่องราวหรือสิ่งต่างๆที่ผมเคยพูดเคยย้ำหรือจะรู้ซึ้งเป็นอย่างดีว่าถ้าท่านสามารถทำในสิ่งที่ผมได้พูดไปแล้วนั้นได้มันคุ้มค่ากับสิ่งที่แลกมาด้วยความขมขื่น ความเจ็บปวด เงินที่ต้องเสียไป เวลาที่เสียไปในภายหลังจากการซื้อรถมาแล้วนะครับ
มาถึงตรงนี้คงเน้นหลักๆจริงๆแบบปลอดภัยมากที่สุดเพื่อป้องกันตัวเองมากที่สุด โดยเฉพาะท่านที่อาจจะมีทุนไม่มากและไม่ค่อยรู้เรื่องรถมากนัก ขั้นตอนต่างๆที่จะลำดับให้ฟังเป็นขั้นตอนในการเลือกซื้อนะครับไม่ใช่การเลือกรถ ดังนี้ครับ
1. การเลือกเต็นท์
1. ผมจะมองไปที่เต็นท์ที่มีการโฆษณาตามสื่อต่างๆและมีรถคันที่เราเลือกไว้อยู่ในโฆษณานั้นด้วยอย่างน้อย 2สื่อ และในคำที่ลงไว้จะต้องระบุหรือกล่าวไปในทำนองที่ว่า?รถพร้อมใช้?และ/หรือ?รับประกันทุกคัน?และ/หรือ??รับประกันคุณภาพ?และ/หรือ?รับประกันไม่มีคว่ำ?และ/หรือ?รับประกันไม่มีชนหนัก?และ/หรือ?ถ้าพบว่ามีปัญหายินดีคืนเงิน?และ/หรือ?รับประกันที่ระบุหลังการขายเป็นระยะเวลาที่แน่นอนอย่างน้อยที่สุด 7วันเช่นซ่อมฟรี?เพราะข้อความเหล่านี้สามารถเป็นข้อผูกมัดได้ในกรณีที่เกิดปัญหาถือว่าเป็นการโฆษณาเกินจริงหรือหลอกลวง ถ้าแน่จริงต้องกล้าลงโฆษณาซิ
2. ลงลึกในรายละเอียดกับทางเต็นท์ว่าที่เขารับประกันนั้นมีอะไรบ้างอย่างน้อยสุดภายใน 7 วันถ้ามีปัญหาสามารถเคลมอะไรได้บ้างและทางเต็นท์สามารถออกหนังสือรับรองการรับประกันให้ได้หรือเปล่า ถ้ารถคันนั้นๆดีจริงตามกล่าวอ้างเขาสามารถออกหนังสือรับรองระบุการรับประกันให้ได้ ถ้ามีการบ่ายเบี่ยงแสดงว่าของปลอมครับเพราะแค่ 7วันยังไม่กล้ารับรองแสดงว่ารถคันนั้นๆพร้อมที่จะเกิดปัญหาได้ทุกเวลา
2. การเก็บหลักฐาน โดยเก็บโฆษณาทุกชิ้นที่เกี่ยวข้องกับรถคันที่จะซื้อเท่าที่จะหาได้ที่ระบุตามข้อ 1.1
3. การจ่ายหรือวางเงินจอง
1. หาพยานที่ไม่ใช่ญาติพี่น้องไปด้วยในการณีที่ต้องเซ็นต์หรือเป็นพยานตามข้อ 1.2
2. จะต้องได้หนังสือรับรองการรับประกันตามข้อ 1.2 ก่อนจ่ายเงิน
3. ขอให้มีการระบุวันที่รับรถหรือการนัดในใบจองหรือใบนัดทำสัญญา
4. ขอให้มีการระบุอย่างชัดเจนว่าวันรับรถจะมีการแก้ไขจุดใดให้บ้างหรือรถจะอยู่ในสภาพใดถ้ามีสิ่งที่ต้องซ่อมหรือเปลี่ยนยกเว้นที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์(อันนี้พูดไปแล้วในบทความเดิมเรื่องการเลือกรถมืองสองในมุมมองของผมตอนแรกที่กล่าวมาข้างต้น)หรือระบบแอร์เช่น แอร์ไม่เย็นทางเต็นท์มักอ้างว่าน้ำยาหมดวันรับรถจะเติมให้ขอให้สัญนิฐานเลยว่าตู้แอร์รั่วเพราะโอกาสที่น้ำยาแอร์จะรั่วซึมออกจากระบบที่เป็นระบบปิดนั้นเกิดขึ้นน้อยมากค่าซ่อมราว 3พันขึ้นไปและจะมีปัญหาหลังซื้อไปราว 10-45วัน(ตามแต่จะรั่วมากหรือน้อย)และเสียเวลาอีกประมาณ 6-48ชั่วโมง
5. ต่อรองการวางเงินจองให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้เช่น 2-5 พัน(ไม่ควรเกิน 10พัน) ยิ่งมีการเรียกเงินมัดจำสูงเท่าไหร่ยิ่งเป็นการส่อแววความไม่ซื่อสัตย์มากเท่านั้น
6. ตกลงกันก่อนว่าขอถ่ายภาพรถคันที่จะวางเงินมัดจำถ้าไม่ยินยอมก็ยกเลิกไปเลย
7. ทำการถ่ายรูปรถคันนั้นด้วยกล้องธรรมดา(ที่ใช้ฟิล์ม)ทุกซอกทุกมุมให้ละเอียดและทำการล้างอัดทันที(ไม่เกิน 1 วันหลังจากถ่าย)พร้อมเก็บหลักฐานการล้างอัดรูปไว้ด้วยเพื่อเป็นการป้องกันการเปลี่ยนถ่ายอะไหล่ออกจากตัวรถและเป็นหลักฐานว่าจะมีการซ่อมหรือแก้ไขตามข้อตกลง(อาจจะมีการใช้นิ้วหรือมือชี้ระหว่างถ่ายรูปในจุดที่ตกลงกันว่าจะแก้ไขให้เรียบร้อย)
8. หรือจะจ่ายคนละครึ่งขอให้ระบุลงในใบจองให้เรียบร้อยตกลงกันให้เรียบร้อยว่าค่าใช้จ่ายบางส่วนเช่นค่าโอน ใครจะเป็นคนจ่าย
9. ตรวจเช็คหลักฐานต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมดให้เรียบร้อย พร้อมกับให้เอกสารส่วนของเราถ้าเป็นการเช่าซื้อ
10. วางเงินมัดจำและนัดทำสัญญาหรือนัดวันจัดสินเชื่อ
4. ทำสัญญาซื้อ-ขายหรือเช่าซื้อ
1. วันที่ทำสัญญาซื้อ-ขายหรือเช่าซื้อและวันรับรถให้เป็นวันเดียวกันและให้เร็วที่สุดนับจากวันจองวันต่อวันยิ่งดี
2. ตรวจดูให้แน่ชัดว่าคนที่ทำสัญญากับเราเป็นผู้ประกอบการตัวจริง
3. ถ้ามีการไม่ทำตามข้อกำหนดหรือไม่สามารถส่งมอบรถตามกำหนดให้ยกเลิกสัญญาโดยไปแจ้งความนำบันทึกมาขอรับเงินมัดจำคืนถือว่าเป็นการผิดสัญญาในการส่งมอบรถ(ทีเราไม่ไปตามกำหนดเขายังสามารถริบเงินมัดจำของเราได้เลย)
4. ในขั้นตอนการรับ-มอบรถให้ปฎิบัติตามข้อ 3.7คือการถ่ายรูปเพื่อเป็นการยืนยันว่ารถที่เรามาดูอยู่ในสภาพที่ได้ตกลงกันไว้มิได้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพโดยที่เราไม่ยินยอมหรือตามสภาพที่ได้ตกลงในวันที่เราจองรถ
5. ถ้ารถเกิดปัญหาในระยะประกันตามที่ระบุการรับประกันจะทำยังไง
1. จอดรถทันที(ถ้าวิ่งไม่ได้)นำหลักฐานที่มีทั้งหมดรวมถึงหนังสือและสื่อที่ระบุการรับประกันไปลงบันทึกประจำวันที่ที่สถานีตำรวจ โดยระบุด้วยว่าจะนำรถกลับไปที่เต็นท์ถ้ารถวิ่งได้หรือจะลากไปกรณีที่วิ่งไม่ได้เพื่อให้ทางเต็นท์รับผิดชอบตามเงื่อนไขรับประกัน
2. หลังลงบันทึกแล้วแจ้งไปที่เต็นท์ว่ารถเกิดปัญหาสอบถามว่าจะช่วยเหลือยังไง
3. ถ้าการติดต่อไปนั้นมีการบ่ายเบี่ยงให้ลากรถ(ในสภาพที่ถูกต้องกรณีที่วิ่งไม่ได้)กลับไปฝากจอดไว้ที่เต็นท์แต่ถ้ารถยังวิ่งได้ก็ขับไปฝากจอดที่เต็นท์และนัดวันมารับรถหลังการซ่อม(((อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ))) ----กันcopy
4. ถ้าทางเต็นท์บ่ายเบี่ยงที่จะซ่อมหรือปัดความรับผิดชอบแจ้งความดำเนินคดีทางกฎหมายทันทีอย่ารอช้าและไม่ควรทำแค่ที่เดียวอาจจะร้องผ่านไปยัง ส.ค.บ. หรือผ่านสื่ออีกทางด้วยอย่างน้อยก็เป็นการป้องกันตัวจากอำนาจมืดเพราะสามารถร้องเรียนได้เนื่องจากเราเป็นผู้เสียหายและมีหลักฐานที่จำดำเนินคดีแล้วว่ามีการทำผิดสัญญา-โฆษณาเกินจริงหรือเป็นเท็จ-ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้า โดยเรียกร้องความเสียหายทั้งเงินทองและทางจิตใจ-ค่าเสียเวลาเข้าไปด้วย
5. ถ้ามีการเจรจาต่อรองอย่าอ่อนข้ออย่างเด็ดขาด อย่างน้อยควรจบด้วยการเปลี่ยนรถคันที่สภาพดีในราคาที่เท่ากันหรือการคืนเงินหรือยกเลิกสัญญา
............คงคร่าวๆแค่นี้นะครับเพราะความจริงแล้วเรื่องนี้ไม่อยากจะเขียนถึงเลยเพราะเราหาทางป้องกันทางผู้ประกอบการก็จะรู้ว่าเราจะทำอะไรแต่เมื่อมันเกิดเรื่องขึ้นมาแล้วก็เลยตัดสินใจเขียนมาให้ศึกษาเป็นแนวทางกันนะครับ...........
............ยังคงย้ำจุดยืนเดิมว่ากรณีที่ผมสงสัย-ลังเล-ไม่แน่ใจผมจะหยุดและไม่ยอมเสี่ยง บางท่านอาจจะมองว่าเป็นการใช้เวลามากเกินไปแต่ถ้ามองว่าเป็นการป้องกันปัญหาที่ตามมาถ้าเจอแค่ครั้งเดียวก็จะรู้ว่าเวลาที่เสียไปก่อนซื้อรถนั้นสุดจะคุ้มค่าเมื่อเทียบกับเวลาที่จะเสียไปหลังซื้อรถครับ..............
.............หลายๆท่านอาจจะคิดว่ามันคือต้นทุนที่สูงขึ้นสำหรับการซื้อรถเพราะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ต้องไม่ลืมว่าขั้นตอนก่อนซื้ออาจจะเสียเงินเพิ่มอีก 5พันถึง 1 หมื่นแต่เมื่อเกิดปัญหาอาจจะเสียหลายหมื่นและเมื่อคิดเป็นค่าที่ต้องมานั่งเป็นทุกข์ยังไงก็คุ้มครับ..............
.............และขอยืนยันอีกครั้งว่าที่เขียนมาทั้งหมดนี้ไม่ได้มุ่งร้ายใครหรือมีส่วนได้-เสียกับผู้ประกอบการรายใดทั้งสิ้น ทั้งหมดเป็นเพียงเทคนิคส่วนตัวเท่านั้นแม้วันข้างหน้าเมื่อข้อความนี้เผยแพร่ออกไปย่อมมีการระวังและเตรียมตัวเพื่อป้องกันในสิ่งที่พูดไปทั้งหมดก็ตาม แต่กว่าจะถึงวันนั้น...ผู้ที่เข้ามาอ่านข้อความทั้งหมดนี้และนำไปใช้ประโยชน์ทันกาลก่อนที่ผู้ประกอบการจะรู้ตัวน่าจะมีบ้างแม้เพียงแค่คนเดียวก็ถือว่าผมได้ทำในสิ่งมุ่งหวังแล้วตั้งใจแล้วครับ...........
การเลือกรถมือสองในมุมมองของผม(ตอน 3)
ขอใช้ชื่อตอนนี้ว่า..?ซื้อรถมือสองที่อายุรถกี่ปีคุ้มค่าที่สุด?....
เคยมีถามกันมาบ่อยๆทั้งทางเมล์และในชมรมคนรักรถว่าซื้อรถมือสองที่อายุรถกี่ปีดีหรืออายุรถกี่ปีที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งถ้าเป็นคำถามในชมรมคนรักรถก็จะออกแนวกว้างๆแต่ถ้าถามกันมาทางเมล์จะเน้นที่ความคิดเห็นและทัศนะส่วนตัวของผมเป็นหลัก ความจริงแล้วเรื่องนี้ผมร่างไว้นานแล้วและคิดจะนำเสนอมาเหมือนกัน แต่เกรงเรื่องผลกระทบที่จะตามมาก็เลยไม่มีโอกาสเรียบเรียงเป็นเรื่องเป็นราวเสียที จนระยะหลังๆมาที่นำมาตอบคำถามทางเมล์กลับได้รับการตอบรับที่ดีจึงคิดว่าน่าจะมีประโยชน์มากกว่าหรือแม้จะส่งผลบ้างก็ไม่น่าจะรุนแรงอะไรเพราะยังไงมันก็เป็นเพียงแนวคิดและมุมมองของคนๆนึงเท่านั้น ไม่น่าจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงใดๆได้
แม้รถใหม่จะเป็นสุดยอดปรารถนาของคนส่วนใหญ่ และรถมือสองก็เป็นที่ต้องการของคนที่อาจจะกำลังไม่พอที่จะเล่นรถใหม่ที่อาจจะรอจนราคามันร่วงลงมากหรือราคาต่ำกว่าครึ่งลงมาแล้วซึ่งตรงนั้นอายุรถมันอาจจะมากแล้วหรือเริ่มเข้าสู่ระยะซ่อมแบบเต็มตัวแล้ว แต่มีจุดกึ่งกลางระหว่างนั้นของการเป็นรถเก่าที่ยังมีกลิ่นไอของรถใหม่อยู่ แถมราคาก็น่าสนใจมากบวกกับยังได้ความสบายใจในการใช้งานอีกระยะหนึ่งด้วย (((อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ))) ----กันcopy
โดยส่วนตัวแล้วถ้าไม่ยึดติดกับค่านิยมป้ายแดง และอยากได้รถดีๆใช้งานในสภาพใหม่ราคาคุ้มค่าน่าลงทุนแลกกับความสบายใจผมเห็นว่าจุดน่าสนใจที่สุดอยู่ที่รถมือสองอายุ 2-3 ปีหรือสุกงอมเต็มที่คืออายุรถปีที่ 3ครับ สาเหตุเพราะอะไรหรือทำไมผมจึงพูดเช่นนี้ก็ลองมาฟังเหตุผลกันดูนะครับว่า.......
1. รถอายุ 1-2 ปีราคาจะตกก็จริงแต่จะยังเปลี่ยนแปลงและแปรผันตลอดเวลาเพราะตัวใหม่ราคาจะสูงขึ้น ตัวเก่าราคาก็จะตกน้อย หรือถ้าเปลี่ยนรุ่น-โฉมไปราคาก็จะตกมาก แถมรถที่ขายๆบางคันสภาพสวยไม่แพ้รถใหม่ป้ายแดงจึงโก่งราคาขึ้นไปอีก ซึ่งส่วนใหญ่ช่วง 1-2 ปีแรกราคาจะตกแกว่งอยู่ที่ 80-90%จากราคารถใหม่ ยิ่งเป็นรถยอดนิยมที่ยอดขายสูงราคาก็จะแกว่งอยู่ช่วง 85-95%เลยทีเดียว
2. รถอายุ 2-3 ปีราคาจะตกลงอีกก็จริงแต่น้อยมากเมื่อเทียบกับปีที่ 1-2เพราะจะเป็นการตกลงในด้านของราคาแค่ราว 5000-20000เท่านั้นเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นเทียบกับราคารถใหม่แล้วก็ยังจัดว่าราคายังอยู่ในช่วงเดียวกันกับรถปีที่ 1-2คือช่วง 80-90%จากราคารถใหม่เพราะถ้ามองรายละเอียดดีๆมันเหมือนว่าจะมีการลดเยอะแต่จริงๆเป็นการเพิ่มราคาขึ้นไปแล้วขีดฆ่าหรือมาร์คใหม่ว่าราคาพิเศษจากราคาปกติก็เลยดูเหมือนว่าจะลดลง 2-5หมื่นทั้งที่ความจริงอาจจะแค่ 5000 เท่านั้น ระยะนี้เป็นระยะที่มีการดูท่าทีของผู้ซื้อว่ารถจะปรับเปลี่ยนโฉมบ้างหรือเปล่าเพราะมีบ่อยครั้งที่จะมีการปรับปรุงโฉมหลังจากเปิดตัวไปแล้วราว 2 ปีและจะเปิดจำหน่ายราวปลายปีที่สองหลังจากโฉมเดิม ทำให้จำนวนผู้ซื้อรถช่วงนี้มีน้อยเพราะส่วนมากจะรอดูว่าราคาจะตกอีกหรือเปล่าถ้ามีโฉมใหม่ออกมา ขณะเดียวกันผู้ขายที่เปลี่ยนรถบ่อยๆมักเทขายออกมาช่วงนี้เนื่องจากราคาค่อนข้างทรงตัว
3. พอขึ้นปีที่ 3 ราคารถที่ทรงตัวอยู่จะเริ่มลดลงต่ำกว่า 80%จากราคารถใหม่และมีการอ่อนตัวลงต่ำสุดถึง 60%จากราคารถใหม่เนื่องจากปริมาณที่ปล่อยออกมาจากปีที่ 1-2-3 และผลจากการรอดูท่าทีของผู้ซื้อพอมาถึงปีที่3 จำนวนรถที่ขายจึงมีมาก ตลอดจนรถที่ปล่อยออกมาก่อนหน้านี้ที่ยังโก่งราคาไว้ต้องลดราคาลงมาสู้เพราะดอกเบี้ยเริ่มทบต้นแล้วยิ่งมาเจอกับจำนวนรถที่มีมากๆการแข่งขันที่เกิดขึ้นของผู้ประกอบการณ์จึงมีสูง ในช่วงปีที่ 3 จึงเป็นปีทองที่มีช่วงของราคาห่างกันมากช่วง 60-80%จากราคารถใหม่และไม่กระโดดเกิน 80%อีกแล้ว ตัวเลือกก็มาก-จำนวนรถก็มาก กำลังการต่อรองของผู้ซื้อจึงมีสูงที่สุดในปีนี้
4. ในปีที่ 4 และปีที่ 5 ราคารถจะเริ่มตกลงน้อยแค่ 10-20%เหมือนปีที่ 1และ ปีที่ 2 ยิง่เป็นรถตลาดยอดนิยมราคาอาจจะตกลงเต็มที่ก็แค่ราว 5-10%เท่านั้นและโอกาสที่จะมีการแหกตาปรับราคาขึ้นเพื่อนำมาจัดรายการลดราคาลงก็เกิดขึ้นมากทำให้ราคาที่ลดลงจริงๆอาจจะน้อยกว่า 5%ด้วยซ้ำ ขณะที่รถในปีที่ 3นั้นโอกาสที่ราคาจะตกมีมากถึง 20-40% อีกเหตุผลหนึ่งก็เพราะรถรุ่นใหม่ที่ออกมาภายในปีที่ 2 จะเปลี่ยนโฉมกันทั้งนั้นราคารถในปีที่ 3 จึงชลอตัวเพื่อดูแนวโน้มของตลาดและการเปลี่ยนแปลงของรถคนที่จะขายก็จะต้องรีบขายเพราะกลัวราคาจะตก คนที่จะซื้อก็รอดูรุ่นใหม่ๆเป็นช่วงกั๊กๆพอดีที่รถใหม่กำลังคลอด-รถเก่าล้นตลาดหรือมีมากกว่าความต้องการ
5. รถแค่ 3 ปีเป็นรถที่อุปกรณ์ต่างๆเข้าที่ดีแล้วและเป็นช่วงที่สมบูรณ์สุดขีดก็ว่าได้ซื้อมาถ่ายของเหลวก็อัดได้เลยไม่ต้องไปคอยห่วงเรื่องการรัน-อินหรือถ้ามีข้อบกพร่องเช่นการรั่วต่างๆของน้ำมันก็สามารถเห็นได้เลยว่าผิดปกติซึ่งมันไม่ควรเกิดขึ้น ถ้ามันมีการรั่วซึมในเบื้องต้นเราจึงบอกได้เลยว่ารถคันนั้นมีปัญหาหรือเปล่า และเมื่อพบปัญหาก็สามารถมองหาคันใหม่ได้ง่ายเพราะตัวเลือกมีเยอะนั่นเอง
6. รถส่วนใหญ่ยังอยู่ในระยะประกันหรือพึ่งจะหมดประกันสามารถตรวจเช็คได้ง่ายว่าเจ้าของเดิมผ่านอะไรมาบ้าง ดูแลรถเป็นยังไง กอปรกับตัวเลือกก็มากเราจึงสามารถเป็นผู้กำหนดสิ่งที่เราต้องการได้เช่นเอารถที่วิ่งไม่เกิน 5หมื่นโล-ไม่เคยมีประวัติเคลมประกันหรือมีน้อยเป็นต้น
7. อายุรถส่วนใหญ่จะเริ่มซ่อมราวปีที่ 5-6 ดังนั้นเราสามารถใช้รถได้เหมือนใหม่โดยไม่ต้องทำอะไรราว 2-3ปี ถ้าเทียบกับตอนที่เป็นป้ายแดงเจ้าของเดิมต้องจ่ายเงิน 100%เพื่อซื้อรถมาใช้งาน 2-3 ปีแล้วขายรถขาดทุนไปราว 20-40% หรือมองในทางกลับกันถ้าเรามาซื้อปีที่ 3 เราก็จะจ่ายแค่ 60-80%ของราคารถใหม่เพื่อใช้งาน 2-3 ปีเช่นกันเพียงแต่มันไม่มีป้ายแดงปะหน้าแค่นั้นเอง
8. ถ้าซื้อป้ายแดงมาขายในปีที่ 2-3ก็จะขาดทุนราว 10-20%สำหรับรถยอดนิยมและอาจจะสูงถึง 20-40%สำหรับรถทั่วๆไป ถ้าซื้อรถยอดนิยมปีที่ 3 แล้วไปขายปีที่ 5-6 ก็จะขาดทุนราว 10-30%ซึ่งถ้ามองตรงนี้จะเหมือนว่าซื้อปีที่ 3 ขาดทุนมากกว่าแต่ถ้าไปมองตรงเม็ดเงินที่ต้องจ่ายตอนซื้อจะพบว่าเม็ดเงินที่ได้จากการขาย แล้วเอาส่วนต่างมาติดดอกเบี้ยซัก 2-3ปีอันนี้ถ้าคิดลงลึกเข้าไปก็จะเหลือขาดทุนจริงแค่ 5-15%เท่านั้นซึ่งถูกกว่าป้ายแดงอีกครับในคุณภาพที่ใกล้เคียงกันแต่ไม่เท่ห์เท่านั้น ยิ่งเป็นรถทั้วๆไปยิ่งชัดเจนยิ่งขึ้นว่าขาดทุนน้อยกว่าหรือเต็มที่ก็เท่าๆกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือจำนวนเงินที่ซื้อรถครั้งแรกเพราะการซื้อป้ายแดงต้องลงทุน 100% แต่ซื้อมือสองปีที่ 3 ลงทุนแค่ 60-80%เท่านั้น.
..............คงคร่าวๆเท่านี้นะครับ ยังไงลองๆดูเพิ่มเติมจากข้อมูลที่คุณหรือฐานข้อมูลอื่นๆด้านราคาที่ซื้อ-ขายกันจริงๆที่มีอยู่มากมายตามสื่อต่างๆแล้วลองมานั่งวิเคราะห์ด้วยตัวคุณเองจะดีกว่าว่ามันเป็นจริงหรือเปล่า โปรดใช้วิจารณญาณของท่านในการพิจารณาจากข้อมูลจริงทั้งหมดที่คุณมีอยู่ก่อนตัดสินใจครับ..........
..............ความคุ้มค่าของเงินที่จ่ายไปของแต่ละคนคงไม่เหมือนกันเพราะบางท่านก็อาจจะมองว่าการแลกป้ายแดงมานั้นคือความคุ้มค่าแล้ว ส่วนมุมมองตรงนี้คือการใช้งานจริงอย่างสบายใจไร้ปัญหากับการลงทุนที่ต่ำกว่าโดยตัดเรื่องค่านิยมของป้ายแดงออกไปครับ............. (((อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ))
085-325-2353
วิธีการเลือกซื้อรถมือสอง
ร่วมแสดงความคิดเห็น (11)
ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่ารถยนต์คือสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเพื่อความสะดวกสบายหรือเพื่อการทำธุรกิจ ครั้นจะซื้อรถใหม่ป้ายแดงคันโก้ บางทีมันก็อาจจะไม่สมเหตุสมผลกับทุนทรัพย์เรานัก โดยเฉพาะถ้าเป็นรถคันแรก เราอาจจะใช้อย่างคุ้มค่าสมบุกสมบัน ทนมือทนเท้าสักหน่อย ถ้าจะเป็นรถใหม่ใจมันก็ไม่ถึง อย่ากระนั้นเลยลองมามองหารถใช้แล้วเสียก่อนดีกว่า เอาล่ะครับเมื่อตกลงปลงใจได้อย่างนี้แล้ว เราจะมีวิธีการดูรถมือสองอย่างไร ถึงจะได้รถดีๆ มาใช้ เพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่จะต้องดูต้องพิจารณาให้อย่างละเอียด ก็มันไม่เสร็จสรรพง่ายดายเหมือนรถใหม่นี่นา นี่เป็นข้อแนะนำในการดูรถมือสอง ข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคในการซื้อรถมือสอง และวิธีตรวจสอบรถแบบที่ท่านสามารถดูเองได้ครับ
1. โครงสร้างของรถ
ก่อนที่ท่านจะซื้อรถมือสอง ให้ดูสภาพของโครงสร้างภายนอกของตัวรถก่อน จากด้านหน้าไป จรดด้านท้ายรถ สังเกตตามตะเข็บรอยต่อของหลังคา ขอบกระจกหน้า-หลัง จากนั้นเปิดฝากระโปรงหน้าดูที่คานหม้อน้ำทั้งด้านบนและด้านล่าง ขายึดกันชนที่ต่อเชื่อมมาจากแชสซีส์ ดูตะเข็บรอยต่อภายในห้องเครื่อง ให้สังเกตดูว่ามีร่องรอยของความเสียหายหรือไม่ เพราะรถที่ถูกชนอย่างหนักพวกรอยเชื่อมหลังจากซ่อมมาแล้ว มักจะไม่เหมือนกับที่มาจากโรงงาน อันนี้คงต้องใช้การสังเกตดูหลาย ๆ คันมาเปรียบเทียบกัน และรถที่ถูกชนมาหนักพวกนี้เวลาที่ใช้งานไปนาน ๆ มักจะพบปัญหาตามมา และในบางครั้งศูนย์ของรถอาจจะคลาดเคลื่อนมากจนเกินที่จะแก้ไขได้ด้วย แต่ถ้าหากมีร่องรอยบ้างไม่มากนัก ก็แสดงว่ารถคันนี้มีการซ่อมแซมจากการชนมาบ้างแล้ว แต่ไม่หนักหนา หรือถ้าไม่พบเลยก็จะเป็นอันดีที่สุด
การดูด้านหลังก็ให้ดูเหมือนด้านหน้า แต่โครงสร้างส่วนหลังนี้มีความสำคัญน้อยกว่าส่วนหน้า ถ้าจะให้เปรียบเทียบโครงสร้างของรถกับโครงสร้าง ของคน ก็คงจะเปรียบได้กับกระดูกที่เป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้ร่างกายของเราสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ เช่น ถ้าเขาเกิดอุบัติเหตุขาหัก ก็จะทำให้เดินกะเผลกเสียศูนย์ เดินแล้วไม่ปกติ เป็น ต้น ซึ่งก็เหมือนกับรถยนต์ หากเสียศูนย์ จนไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว เมื่อเบรกอย่างกะทันหันรถก็อาจหมุนได้ หรือขณะขับขี่ผ่านถนนที่มีน้ำท่วมขังรถก็อาจลื่นไถลได้ง่ายแม้จะไม่ได้เบรกก็ตาม
โครงสร้างของรถยนต์นั้นหลายส่วนสามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนได้ และก็มีบางส่วนที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ หรือถ้าจะเปลี่ยนก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากสลับซ้บซ้อนมากจนไม่มีใครนิยมทำกัน อย่างบังโคลนหน้า ฝาประโปรง ประตู สามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่แทนได้ในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุมา ส่วนแก้มหลังที่ต่อกับเสาหลังรถหรือเฟรมตัวถังกับเสาประตู เป็นชิ้นส่วนที่ไม่นิยม เปลี่ยนกัน ด้วยขั้นตอนความยุ่งยากและความแข็งแรงของส่วนนั้นที่จะลดลงหลังจากทำการซ่อมไปแล้ว จึงไม่เป็นที่นิยมของอู่จนพอจะเรียกได้ว่าเป็นชิ้นส่วนที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ จึงควรจะต้องดูที่บริเวณนี้ให้ดี
2. สภาพตัวถังภายนอกและสีรถ
ลำดับถัดมาเป็นเรื่องของสภาพตัวถังภายนอก ให้ดูว่าสภาพของสีรอบๆ ตัวรถว่ามีการบวมปูดของสีหรือสีซีดด่าง ผุเป็นสนิม มากน้อยแค่ไหน เพราะการทำสีนั้นแต่ละส่วน แต่ละบริเวณนั้นเช่น บังโคลน ค่าทำสีชิ้นละ2,000-3,000 บาท ถ้าต้องทำสีมากหลาย ๆ จุดคำนวณดูแล้วค่าทำสีจะสูงมาก ก็ไม่ไหวเหมือนกัน
3. เครื่องยนต์
คราวนี้ก็ว่าด้วยเรื่องเครื่องยนต์กลไกต่างๆ แม้ว่าในปัจจุบันนี้รถญี่ปุ่น จะมีเครื่องใช้แล้วจากญี่ปุ่นเข้ามาจำหน่ายมากมายและหาง่ายก็ตาม แต่ราคาของเครื่องยนต์ก็เป็นเรือนพันเรือนหมื่น จึงควรตรวจดูอย่างรอบคอบ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเงินโดยไม่จำเป็น จากนั้นเมื่อสตาร์ทเครื่องแล้ว ให้ดูว่าเครื่องยนต์เดินเรียบหรือไม่และให้ฟังดูว่ามีเสียงอะไรผิดปกติหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน มีเสียงดังแต็ก..แต็ก ของวาล์วหรือไม่ หรือเสียงดังกั๊ก ๆ ที่เกิดจากแคมชาฟท์หรือเพลาข้อเหวี่ยง สลักลูกสูบหรือไม่ ถ้ามีก็แสดงว่าเครื่องยนต์มีปัญหาใหญ่แน่ ๆ ต่อมาให้ลองฟังดูว่ามีเสียงของลูกปืนไดชาร์จไดสตาร์ทด้วย
จากการฟังก็มาถึงการใช้วิธีดมกลิ่นที่ท่อไอเสียดูถ้ามีกลิ่นไม่ฉุนมากนักก็แสดงว่าเผาไหม้ได้ หมด แต่ถ้ามีกลิ่นฉุนรุนแรงหรือมีควันสีดำออกมาเวลาเร่งเครื่องก็แสดงว่าเผาไหม้ไม่หมดเครื่อง ยนต์ไม่สมบูรณ์ และรถคันนั้นจะกินน้ำมันมากกว่าปกติอีกด้วย หรือถ้าเป็นควันดำสีขาวไหลออก ทางปลายท่อ ยิ่งมีปริมาณมากเท่าไร ก็ยิ่งแสดงว่าเครื่องหลวมมากเท่านั้น
4. ระบบแอร์
ตรวจสอบแอร์ดูว่ามีเสียงของพัดลมดังผิดปกติหรือไม่เสียงของคอมเพรสเซอร์แอร์ดังขึ้นมาไหม ซึ่งทดลองได้ไม่ยากนัก แค่ปิด-เปิดแอร์ แล้วฟังเสียงดู ถ้ามีเสียงดังตอนเปิด และเงียบลงตอนปิด ก็แสดงว่าคอมแอร์เริ่มมีปัญหาแล้วล่ะ
5. ระบบเกียร์
สำหรับระบบเกียร์นั้นมีวิธีการตรวจเช็กแบบง่ายๆ รถจอดอยู่กับที่ก็สามารถตรวจได้ ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติให้ลองเข้าเกียร์ D ดูว่ามีการกระตุกที่รุนแรงไหม โดยใช้เท้าซ้ายเหยียบเบรกเอาไว้แล้วใช้เท้าขวาเหยียบคันเร่งลงไปเรื่อยๆ ถ้ารอบอยู่ที่ประมาณ 2,000 รอบ/นาที ก็ถือว่าใช้ได้ แต่ถ้ารอบเลยขึ้นไปถึง 2,500-3,000 รอบขึ้นไป ก็แสดงว่าชุดคลัตช์เริ่มลื่นแล้วซึ่งค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมนั้นสูงมาก ตั้งแต่ 20,000 บาท ถึงหลักแสนแล้วแต่อาการ
เกียร์ธรรมก็เช่นกัน ให้ติดเครื่องและเข้าเกียร์หนึ่งโดยใช้เท้าขวาเหยียบเบรกเอาไว้และค่อยๆ ปล่อยคลัตช์ดู ถ้าเครื่องดับแสดงว่าคลัตช์ยังดีอยู่ แต่ถ้าเครื่องยังไม่ดับก็เป็นอันว่าชุดคลัตช์กลับบ้านไปแล้ว
6. สภาพห้องโดยสาร
การตรวจสอบภายในห้องโดยสารให้ตรวจสอบอย่างละเอียดว่าระบบไฟฟ้าทั้งหลาย ระบบไฟสัญญาณต่างๆ บนหน้าปัดขณะที่บิดกุญแจไปยังตำแหน่ง ON สัญญาณเครื่องหมายต่าง ๆบน หน้าปัดจะต้องมีโชว์ขึ้นมาทั้งหมด เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติดแล้วไฟต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องดับหมด ซึ่งถ้าดวงไหนยังไม่ดับแสดงว่า ระบบนั้นต้องมีปัญหา เช่น ไฟ ABS ถ้าติดอยู่แสดงว่าระบบ ABS มีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งแน่ และอาจจะต้องเสียเงินค่าซ่อมเป็นเงินหลายตังค์แน่ๆ หรือถ้าไฟ AIR BAG ติดอยู่แสดงว่าระบบ ถุงลมนิรภัยมีปัญหาแน่ ส่วนในบางทีถ้าบิดสวิตช์กุญแจแล้วไฟสัญญาณบางดวงไม่โชว์ทั้งที่มีระบบนั้น ก็แสดงว่า มีการถอดหลอดออกเพื่อไม่ให้ไฟโชว์ แบบนี้ให้ระวังให้ดี
และอีกอย่างสำหรับรถรุ่นใหม่ๆ ก็อย่าลืมตรวจกระจกไฟฟ้า สวิตช์ไฟระบบไฟส่องสว่าง ต่างๆ ว่าทำงานหรือไม่ ระบบเครื่องเสียงยังคงใช้ได้อยู่ไหมไม่ใช่มีไว้แค่ประดับรถให้เจ้าของที่จะซื้อเอาไว้ดูเล่น ตรวจเบาะนั่งทุกตัวต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ พร้อมทั้งดูอุปกรณ์อื่นๆ ประกอบด้วย
วิธีเลือกรถมือสอง
รถยนต์มือสองเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ที่ต้องการซื้อรถ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้แต่เนื่องจาก การ ซื้อรถมือสอง มีความเสี่ยงที่สูงว่าจะได้รถที่ดีจริงตามที่โฆษณาหรือไม่นั้น ทำให้หลายคนยอมที่จะซื้อรถป้ายแดงเพื่อ ความสบายใจ วันนี้ ผมจะมาแนะนำวิธีการเลือกซื้อรถมือสอง อย่างง่ายๆ เผื่อเวลาเพื่อนๆไปดูรถ จะได้พอจะ ดูได้ว่ารถคันนี้ดีจริงหรือไม่ครับ
เริ่มแรก ในการซื้อรถ ผู้ซื้อรถ ควรจะกำหนดงบประมาณ และ รุ่นที่ตนเองต้องการไว้ก่อน จากนั้นเมื่อได้รุ่นที่ตนเองต้องการแล้ว ให้ไปดูรถที่เต็นท์รถก่อน ตรงนี้ผมไม่ได้แนะนำให้ซื้อที่เต็นท์นะครับ แต่เต็นท์รถ จะเป็นแหล่งความรู้พื้นฐานที่ดีสำหรับผู้ซื้อรถครับ สิ่งที่ผมต้องการให้ดูคือ " เครื่องยนต์ " ครับ เพราะโดยพื้นฐานแล้ว ผู้ซื้อรถส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่า รถรุ่นไหน มีเครื่องยนต์รุ่นไหน ดังนั้นเวลาดูพยายามจำ เครื่องยนต์ ให้ได้ก่อนครับ เพื่อที่เวลาซื้อจริงๆ จะได้ไม่โดนรถที่เปลี่ยนเครื่องยนต์มา นอกจากนั้น ก็พยายามถามราคาและจำอุปกรณ์เสริมต่างๆด้วยก็ดีครับ ลองเปรียบเทียบสัก 2-3 คัน คุณก็จะได้ข้อมูลตรงส่วนนี้แล้วครับ
ขั้นที่สอง เริ่มหารถที่ต้องการ โดยส่วนใหญ่แล้ว ราคารถบ้านจะถูกกว่ารถเต็นท์ แต่บางคันก็ไม่ใช่ เนื่องจาก ราคารถเต็นท์ มักจะอิงจากราคากลาง บวก กำไร แต่ราคารถบ้าน มักจะตั้งตามความต้องการของผู้ขาย ดังนั้นเวลาหารถ ให้พิจารณาราคาประกอบด้วยครับ พยายามหาจากหลายๆแหล่งเช่น จากเต็นท์รถ , หนังสือรถ หรือรถที่ประกาศขายตามเวบไซค์ต่างๆ ถึงตรงนี้คุณจะได้รถที่เป็นตัวเลือกไว้แล้วครับ
ขั้นที่สาม ไปดูรถ เวลาไปดูรถ ถ้าเป็นคุณผู้หญิงแนะนำว่าไม่ควรไปเพียงคนเดียวครับ และสถานที่ดูนั้น ควรจะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยด้วยนะครับ ส่วนวิธีการดูรถแบบง่ายๆ ก็มีขั้นตอนดังนี้ครับ
1. ดูเครื่องยนต์และอุปกรณ์เสริมต่างๆ เปรียบเทียบ กับข้อมูลที่คุณมีครับ ถ้าไม่ตรงกันก็ลองถามผู้ขายดู ถ้าไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนก็ไม่ควรซื้อครับ
2. รถบางคันก็จะติดเครื่องเสียงมาใหม่ และมักจะอ้างราคาเครื่องเสียง เพื่อเพิ่มราคารถ ตรงนี้ต้องพิจารณาให้เองว่า คุ้มหรือเปล่า เช่น ติดมา 1 แสน จะมาบวก 1 แสนก็เกินไปครับ
3. ดูใต้ท้องรถครับ เช่น คัดซี มีการตัดต่อหรือเปล่า ยางหุ้มต่างๆ และรอยน้ำมันที่อาจจะรั่วหรือซึม ครับ ปกติ ใต้ท้องรถนี่อาจจะไม่ค่อยได้ดูกัน เพราะไม่สะดวก วิธีง่ายๆอีกอย่างคือ ดูสถานที่ที่รถจอดว่ามีรอยน้ำ หรือ น้ำมัน ที่พื้นหรือเปล่าครับ
4. ดูว่ารถเคยเกิดอุบัติเหตุมาหรือไม่ วิธีดูก็ใช้หลักง่ายๆครับ คือ " ดูที่ตะเข็บ " ครับ รถที่ออกจากโรงงานรอยตะเข็บต่างๆจะดูเป็นระเบียบ แต่ถ้าชนมา และมีการซ่อม รอยตะเข็บจะดูไม่เรียบร้อย สามารถดูรูปประกอบได้ครับ
โดยบริเวณที่รถมักจะชนคือ
ด้านหน้า เปิดฝากระโปง หน้า แล้วดูรอยตะเข็บ ตามแนว ขอบรถด้านข้าง ตามลักษณะการชนคือ
1. ชนมุม รอยตะเข็บที่มุม จะไม่เรียบร้อย
2. ชนตรงๆ รอยตะเข็บที่มุมทั้ง 2 ฝั่ง จะไม่เรียบร้อย
3. ชนด้านข้าง ให้ดูรอยตะเข็บด้านข้าง จะไม่เรียบร้อย
4. ถ้าชนหนักจนยุบมาถึงห้องเครื่อง ให้ดูรอยตะเข็บตามรูป จะไม่เรียบร้อย
5. ถ้าชนไม่แรง ให้สังเกตุกันชน จะไม่พอดีการโครงรถ เช่น มีช่องว่างเกิดขึ้น
ด้านหลัง เปิดกระโปงหลัง และเปิดผ้าคลุมขึ้น แล้วดูรอยตะเข็บที่เรียกว่า " รอยแปรงปัด "
วิธีการดูการเหมือนกับด้านหน้า ทุกอย่าง แต่ถ้าชนหนัก ให้ดูที่รอยแปรงปัด ครับจะไม่เป็นระเบียบ
ด้านข้าง ทั้ง 2 ฝั่ง เปิดประตูออก ให้หมด แล้วดูความเรียบร้อยของโครงสร้างครับ
โดยปกติจะดูยากครับ เพราะจะไม่มีรอยตะเข็บให้ดู ถ้าไม่แรงมาก ความเสียหายมักจะไม่ถึงตัวโครงรถ จะเสียหายเพียงประตู สำหรับความคิดของผม ถือว่า ไม่เป็นเรื่องใหญ่ครับ แต่ถ้าต้องการดูก็ลองดูรอยตะเข็บบริเวณขอบประตูและตัวบานพับครับ
หลังคา (เกิดจากการพลิกคว่ำ) เปิดประตูออกแล้วดูรอยตะเข็บ บริเวณ คานหน้ารถ เพราะปกติ ถ้ารถพลิกคว่ำแล้ว มักจะยุบบริเวณคานหน้ารถ
5. ทดลองขับครับ ส่วนที่ต้องดูคือ
1. ลองขับแล้วปล่อยพวงมาลัยดูว่ามีการกิน ซ้าย หรือ ขวา หรือเปล่า ถ้ามีลองเข้าศูนย์ ตรวจสอบดู เพราะอาจจะเกิดการชนแล้วทำให้ศูนย์เสียได้
2. ดูว่าเครื่องมีปัญหาหรือเปล่า หลัก ง่ายๆ คือ ไม่ควรสั่น , เดินเรียบ และควันที่ออก ไม่ควรดำ (สำหรับรถดีเซล) หรือ ขาว (สำหรับรถเบนซิล)
3. สังเกตเกียร์ ถ้าเกียร์ Auto เวลาเปลี่ยนมีการกระตุก หรือเปล่า ส่วนเกียร์ ธรรมดา ให้ลองว่า เข้าเกียร์ยากหรือเปล่า
4. สังเกตระบบปรับอากาศว่า ใช้งานได้ดีหรือเปล่า
5. ระบบไฟต่างๆ เช่น ไฟเลี้ยว ไฟเบรก ไฟหน้า ไฟหลัง และไฟในห้องโดยสาร
6. เบาะนั่งทุกตัว โยก หรือเปล่า
7. เข็มขัดนิรภัย ยังใช้ได้หรือเปล่า โดยการดึงแรงๆ ถ้าดึงแล้วติด ถือว่าใช้ได้
ขั้นสุดท้ายจ่ายเงิน โอนรถ ไม่ควรใช้วิธีโอนลอย คือ จ่ายเงิน แล้วก็จบ ไม่ไปโอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถ สละเวลาเพียงครึ่งวัน หรือให้บริษัทที่รับโอนแทน จัดการ เพื่อความถูกต้องและไม่เกิดปัญหาทีหลังครับ
การเลือกซื้อรถมือสอง
ท่านที่ต้องการซื้อรถมือสองหรือรถใหม่ก็แล้วแต่ ควรรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของตัวเองเสียก่อนว่าจะนำรถไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อะไรปัจจัยต่อไปที่เราจะพูดถึงก็คือ การพิจารณาในการเลือกซื้อรถมาใช้ ควรดูว่ารถที่เราจะขับเป็นรถยี่ห้ออะไร และมีศูนย์บริการหรือบริการหลังการขายอย่างไร อะไหล่มีราคาถูกหรือราคาแพงและหาได้ง่ายหรือไม่ เพราะรถมือสองอาจจะต้องมีการซ่อมหลังจากการซื้อมามากหน่อย ซึ่งถ้าเป็นรถทางค่ายยุโรปอาจจะมีปัญหาเรื่องการหาอะไหล่ราคาถูกได้ยาก หรืออาจจะต้องรออะไหล่นาน สิ่งเหล่านี้สามารถดูได้จากความนิยมในการใช้ทั่วๆ ไป ถ้ามีความนิยมใช้มากอะไหล่ก็จะหาได้ง่ายและมีราคาถูก ดูปีที่ผลิตรถว่ารถเก่าไปไหม หรือจะใช้ได้อีกนานหรือไม่ ดูว่าหากต้องการขายต่อ ยังพอได้ราคาอยู่หรือเปล่า ดูเลขกิโลเมตรกับปีรถว่าเหมาะสมกันหรือไม่ ซึ่งเรากำลังจะกล่าวถึงรายละเอียดในหัวข้อต่างๆ ต่อไปนี้ครับ
1. การตรวจเช็คสภาพภายนอกของรถยนต์ คือ การดูตัวถังภายนอกและการดูสีของรถยนต์ การดูสีของรถยนต์ควรดูที่สว่างๆ แต่ไม่ใช่กลางแดดจัด ให้มีแสงพอสมควร เริ่มจาก
1.1 ยืนในต่ำแหน่งหน้ารถ แล้วนั่งลงมองในระดับฝากระโปรงหน้าทั้งด้านซ้าย และด้านขวาดูเส้นขอบตรงหน้ารถไปจรดท้ายที่เป็นเส้นตรงว่ารอยหรือเส้นขอบต่างๆ ผิดเพี้ยนหรือไม่ถ้าดูแล้วมีรอยยุบของเส้นขอบต่างๆ ที่ไม่ต่อเนื่องสันนิษฐานได้ว่าีรถคันนี้ได้มีการทำสีมาแล้ว
1.2 เดินดูรอบรถโดยดูเส้นขอบของประตูเป็นแนวเดียวกันหรือไม่ มีรอยโค้ง รอยนูนหรือเว้าหรือไม่
1.3 ดูช่องว่างระหว่างประตูแต่ละบานว่าเหมาะสมกันหรือไม่
1.4 ดูตัวถังว่ามีการโป๊วสีมาหรือไม่ โดยการใช้นิ้วดีดหรือเคาะเพื่อทำการฟังเสียง โดยทำรอบๆ ตัวรถบริเวณที่มีเสียงทึบมีโอกาสเป็นไปได้ว่ารถได้มีการทำสีมาก่อน เสียงที่ดีต้องเป็นเสียงป็อกๆ ถือว่าใช้ได้
1.5 ต่อไปให้ดูว่าผิวสีเรียบเป็นปรกติเหมือนกันทั้งคันหรือไม่ เพราะถ้าผิวสีที่มีรอยนูนหรือเว้า หรือลักษณะของสีที่แตกต่างกัน
1.6 ดูส่วนประกอบรอบๆ รถ เพื่อที่จะบอกได้ว่าเจ้าของเก่ามีการใช้รถเป็นอย่างไร
2. การดูภายในห้องเครื่องยนต์ เปิดฝากระโปรงหน้าขึ้น เริ่มจาก
2.1 ดูที่คานหน้าหม้อน้ำ ทั้งด้านบนและล่าง รูน๊อตยึดต่างๆ กลมเป็นปรกติหรือไม่
2.2 ดูสภาพของสีกลมกลืนทั้งห้องเครื่องยนต์หรือไม่ ถ้าสีเหมือนกันแต่พ่นใหม่อาจจะมีการยกเครื่องออกมา เพื่อทำการซ่อมตัวถังหรือซ่อมเครื่องยนต์
2.3 ดูตะเข็บรอยต่อเป็นปรกติ เหมือนกันทั้ง 2 ข้าง
2.4 ดูซุ้มล้อหน้า ซ้าย,ขวา สังเกตสติ๊กเกอร์ NAME PLATE ว่ามีหรือไม่ สภาพเป็นปกติหรือเปล่า
2.5 ดูร่องน้ำไหล ทั้งซ้ายและขวา ง่ามีรอยบุบหรือคดบ้างหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้ จะบ่งบอกถึงการเกิดอุบัติเหตุหรือเพียงแค่ทำสีใหม่เท่านั้นควรดูให้ดี
3. การดูเครื่องยนต์
3.1 คราบหรือร่องรอยของการรั่วซึมของน้ำมันเครื่อง
3.2 ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรก, คลัทช์, น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ สีต้องเป็นปกติและสะอาด
3.3 ระดับน้ำยาหล่อเย็น จะต้องอยู่ในระดับที่กำหนด
3.4 ระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ สีและกลิ่นของน้ำมัน
3.5 ระดับน้ำมันเครื่องจะต้องอยู่ในระดับที่กำหนด สีและกลิ่นต้องอยู่ในสภาพที่ดี
3.6 สภาพของสายพานต่างๆ จะต้องไม่แตกร้าว ความตึงพอเหมาะ
3.7 ตรวจหม้อน้ำ,ฝาปิดหม้อน้ำ จะต้องไม่รั้วและมีน้ำอยู่ในระดับที่พอเหมาะ
3.8 สภาพของสายไฟในห้องเครื่องยนต์ จะต้องจัดเก็บเรียบร้อย
3.9 แบตเตอร์รี่จะต้องไม่บวม ขั้วแบตเตอร์รี่สภาพดี และดูอายุของแบตเตอร์รี่,สภาพของน้ำกลั่น
3.10 ติดเครื่องฟังเสียงของเครื่องยนต์ว่าผิดปกติหรือไม่ และจะติดเครื่องได้โดยง่าย
3.11 เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วสังเกตเสียงว่าผิดปกติหรือไม่ เครื่องยนต์เดินเรียบหรือเปล่า
3.12 ตรวจการรั่วของกำลังอัด ดูไอน้ำมันเครื่อง โดยดึง
ราคา: | 800 บาท | ต้องการ: | ขาย |
ติดต่อ: | อาจณรงค์ | อีเมล์: | |
สภาพ: | มือสอง
| จังหวัด: | กรุงเทพมหานคร |
| | | |
โทรศัพย์: | 0853252353 | IP Address: | 124.120.176.xx |
มือถือ: | 0853252353 | |
|
ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)
หน้า แสดง - จากทั้งหมด 22655 ประกาศ
|
|
|
|
|
|
|
300,000 บาท |
|
|
|
79,000 |
|
|
|
999,999 บาท |
|
|
|
200,000 บาท |
|
|
|
1,000 บาท |
|
|
|
1,000 บาท |
|
|
|
1,000 บาท |
|
|
|
650,000 บาท |
|
|
|
300,000 บาท |
|
|
|
1,000 บาท |
|
|
|
1,000 บาท |
|
|
|
300,000 บาท |
|
|
|
300,000 บาท |
|
|
|
300,000 บาท |
|
|
|
300,000 บาท |
|
|
|
200,000 บาท |
|
|
|
200,000 บาท |
|
|
|
200,000 บาท |
|
|
|
200,000 บาท |